ค่าใช้จ่ายในหลักสูตร

ค่าใช้จ่ายในหลักสูตร

 

จังหวัดกรุงเทพฯ  จังหวัดลพบุรี จังหวัดขอนแก่น จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ค่าธรรมเนียมตลอดหลักสูตร ค่าธรรมเนียมตลอดหลักสูตร ค่าธรรมเนียมตลอดหลักสูตร ค่าธรรมเนียมตลอดหลักสูตร ค่าธรรมเนียมตลอดหลักสูตร ค่าธรรมเนียมตลอดหลักสูตร
170,000.- 179,000.- 189,000.- 189,000.- 189,000.- 189,000.-
แบ่งขำระ 6 งวด แบ่งขำระ 7 งวด แบ่งขำระ 7 งวด แบ่งขำระ 7 งวด แบ่งขำระ 7 งวด แบ่งขำระ 7 งวด
งวด 1 = 30,000.-
งวด 2 = 30,000.-
งวด 3 = 30,000.-
งวด 4 = 30,000.-
งวด 5 = 30,000.-
งวด 6 = 20,000.-
งวด 1 = 28,000.-
งวด 2 = 28,000.-
งวด 3 = 28,000.-
งวด 4 = 28,000.-
งวด 5 = 28,000.-
งวด 6 = 28,000.-
งวด 7 = 11,000.-
งวด 1 = 30,000.-
งวด 2 = 30,000.-
งวด 3 = 30,000.-
งวด 4 = 30,000.-
งวด 5 = 30,000.-
งวด 6 = 30,000.-
งวด 7 =  9,000.-
งวด 1 = 30,000.-
งวด 2 = 30,000.-
งวด 3 = 30,000.-
งวด 4 = 30,000.-
งวด 5 = 30,000.-
งวด 6 = 30,000.-
งวด 7 =  9,000.-
งวด 1 = 30,000.-
งวด 2 = 30,000.-
งวด 3 = 30,000.-
งวด 4 = 30,000.-
งวด 5 = 30,000.-
งวด 6 = 30,000.-
งวด 7 =  9,000.-
งวด 1 = 30,000.-
งวด 2 = 30,000.-
งวด 3 = 30,000.-
งวด 4 = 30,000.-
งวด 5 = 30,000.-
งวด 6 = 30,000.-
งวด 7 =  9,000.-
           

 

 

เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร

      เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
           
หลักสูตรแผน ก แบบ ก2
           เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยรามคำแหง ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2552 ข้อ 33.2.2 (แผน ก แบบ ก2) และเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 ข้อ 14.2.2 แผน ก แบบ ก2 เสนอวิทยานิพนธ์ และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการที่สถาบันอุดมศึกษาแต่งตั้ง และต้องเป็นระบบเปิดที่ให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
           ผลงานวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือวารสารระดับนานาชาติ ที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการ สำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หรือนำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings)

หลักสูตรแผน ข
          เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยรามคำแหง ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2552 และเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 ข้อ 14.2.3 คือ เสนอรายงานการค้นคว้าอิสระและสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้และรายงานการค้นคว้าอิสระหรือส่วนหนึ่งของรายงานการค้นคว้าอิสระต้องได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สืบค้นได้

 

การประเมินผลนักศึกษา

การประเมินผลนักศึกษา
กฎ ระเบียบ หรือหลักเกณฑ์ในการให้ระดับคะแนน (เกรด)
      การวัดผลและการประเมินผลการศึกษา 
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
    - นักศึกษาต้องมีเวลาศึกษาไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาศึกษาทั้งหมด จึงจะมีสิทธิ์ได้รับการวัดและประเมินผลปลายภาคการศึกษา
    - การวัดและการประเมินผลระหว่างการเรียนรายวิชาจะมีเป็นระยะๆ อย่างน้อยวิชาละ 1 ครั้ง และมีการประเมินผลการสอบไล่อย่างน้อย 1 ครั้ง
    - ผลการศึกษาของแต่ละรายวิชาจะมีการประเมินด้วยสัญลักษณ์ที่มีค่าระดับ จำนวน 10 ระดับ ดังนี้
สัญลักษณ์ ความหมาย แต้ม
A   ดีเลิศ (Excellent) 4.00
A- เกือบดีเยี่ยม (Almost Excellent) 3.67
B+ ดีมาก (Very Good) 3.33
B   ดี (Good) 3.00
B- ดีพอใช้ (Fairly Good) 2.67
C+ เกือบดี (Almost good) 2.33
C   พอใช้ (Fair) 2.00
C- เกือบพอใช้ (Almost fair) 1.67
อ่อน (Poor) 1.00
ตก (Fail)     0.00
ในกรณีที่ไม่สามารถประเมินผลเป็นสัญลักษณ์ที่มีระดับดังกล่าวข้างต้น ให้ใช้สัญลักษณ์ที่ไม่มีค่าระดับดังต่อไปนี้
            I Incomplete (การวัดผลยังไม่สมบูรณ์)
           S Satisfactory (พอใจ)
           U Unsatisfactory (ไม่พอใจ)
          W Withdrawn with permission (เพิกถอนโดยได้รับอนุมัติ)
- การให้ S หรือ U จะทำได้โดยได้รับอนุมัติเฉพาะรายวิชาที่ไม่นับหน่วยกิต (Non - Credit) หรือรายวิชาที่ไม่สมควรประเมินผลการศึกษาเป็นสัญลักษณ์ที่มีค่าระดับ และผลของการสอบประมวลความรู้
- การให้ W ทำได้ โดยเฉพาะรายวิชาที่นักศึกษาลงทะเบียนไว้แล้ว แต่ขอเพิกถอนรายวิชานั้น
- การให้ I ทำได้ในกรณีที่นักศึกษาทำงานในรายวิชานั้นยังไม่สมบูรณ์ หรือป่วยไม่สามารถเข้าสอบได้หรือเหตุอื่น ให้เป็นไปตามกำหนดไว้ในระเบียบของมหาวิทยาลัย
 
การทำวิทยานิพนธ์หรือการศึกษาศึกษาค้นคว้าอิสระ 
การสอบสำหรับนักศึกษาแผน ก แบบ ก2 และ แผน ข ให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ดังนี้
     - นักศึกษาที่ศึกษามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ภาคการศึกษาปกติมีหน่วยกิตสะสมไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต และมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 อาจยื่นต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อขอทำวิทยานิพนธ์หรือการศึกษาค้นคว้าอิสระ
     - กรณีแผน ข นักศึกษาที่ศึกษารายวิชาต่างๆ ครบถ้วนแล้ว ให้ยื่นต่อผู้อำนวยการโครงการเพื่อขอเสนอหัวข้อทำการศึกษาค้นคว้าอิสระหนึ่งเล่ม โดยให้บูรณาการเนื้อหาของทั้งสองสาขาวิชา คือบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์เข้าด้วยกัน
     - บัณฑิตวิทยาลัยจะแต่งตั้งอาจารย์ประจำ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หรือการศึกษาค้นคว้าอิสระจำนวนอย่างน้อย 1 คน
     - กรณีแผน ก แบบ ก2 ให้มีคณะกรรมการสอบปากเปล่าวิทยานิพนธ์จำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน ประกอบด้วย คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยหรือผู้ที่คณบดีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสถาบัน เป็นกรรมการ
     - การวัดผลการศึกษาวิทยานิพนธ์ มีค่าระดับคะแนน 4 ระดับ ดังนี้ ดีเยี่ยม (Excellent) ดี (Good) ผ่าน (Pass) ตก (Fail)
     - การวัดผลการศึกษาค้นคว้าอิสระ ประเมินโดยอาจารย์ที่ปรึกษาที่ควบคุมการเขียนการศึกษาค้นคว้าอิสระ
     - ผลงานวิทยานิพนธ์จะต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยดำเนิน การให้ผลงาน หรือส่วนหนึ่งของผลงานได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ หรือเสนอต่อที่ประชุมวิชาการที่มีรายงานการประชุม (Proceedings)

การสอบประมวลความรู้
นักศึกษาแผน ข ทุกคนต้องสอบประมวลความรู้ ด้วยข้อเขียนและ/หรือ ปากเปล่า โดยมีขั้นตอนและแนวปฏิบัติดังนี้
     - นักศึกษาได้ลงทะเบียนรายวิชาครบตามหลักสูตร และได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 จึงมีสิทธิ์สอบประมวลความรู้
     - นักศึกษาต้องสอบผ่านการสอบประมวลความรู้ข้อเขียนก่อน จึงจะมีสิทธิ์สอบประมวลความรู้ปากเปล่า
     - นักศึกษามีสิทธิสอบประมวลความรู้ข้อเขียนและ/หรือปากเปล่าแต่ละประเภทได้ไม่เกิน 2 ครั้ง หากสอบไม่ผ่านครั้งที่ 2 ถือว่าพ้นสภาพนักศึกษา
     - บัณฑิตวิทยาลัยแต่งตั้งคณะกรรมการสอบประมวลความรู้ข้อเขียนและสอบปากเปล่า ประกอบด้วย กรรมการบริหารหลักสูตรทวิปริญญาโททางรัฐประศาสนศาสตร์และบริหารธุรกิจจำนวนไม่น้อยกว่า                  3 คน เป็นกรรมการ
     - การวัดผลการสอบประมวลความรู้มีค่าระดับ 2 ระดับ คือ 
               S หมายถึง สอบผ่าน (Satisfactory)
              U หมายถึง สอบไม่ผ่าน (Unsatisfactory) 
ผู้ที่สอบไม่ผ่าน  มีสิทธิสอบประมวลความรู้ได้อีกไม่เกิน   1 ครั้ง ภายในระยะเวลาที่เหลืออยู่ ผู้ที่สอบไม่ผ่าน 2 ครั้ง ถือว่าพ้นจากสภาพนักศึกษา

 

ผลการเรียนรู้ และการประเมินผล

ผลการเรียนรู้ และการประเมินผล
 
ด้านการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม (Ethics and Moral)
นักศึกษาต้องมีการเรียนรู้ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ดังต่อไปนี้
     - สามารถพัฒนานิสัยในการประพฤติอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม ด้วยความรับผิดชอบทั้งในส่วนตนและส่วนรวม
     - วินิจฉัยประเด็นปัญหาต่างๆ ที่ซับซ้อนเชิงวิชาการอย่างมีเหตุ ผลด้วยความเป็นธรรมและชัดเจน ไวต่อความรู้สึกของผู้ได้รับผลกระทบ
     - มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย
     - มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ 
 
ด้านความรู้ (Knowledge)
     - สามารถเข้าใจในความรู้และหลักการของทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์อย่างถ่องแท้
     - สามารถประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ในการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ และเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับรัฐประศาสนศาสตร์ได้อย่างลึกซึ้ง
     - สามารถแก้ปัญหาโดยใช้ความรู้และเหตุผล

  ด้านทักษะทางปัญญา (Cognitive skills)
     - สามารถใช้ความรู้ แนวคิดทางทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ ในการวิเคราะห์ปรากฏการณ์หรือประเด็นทางรัฐประศาสนศาสตร์ในบริบทใหม่
     - สามารถพัฒนาข้อสรุปหรือข้อเสนอแนะ โดยการวิจัยค้นคว้าทางวิชาการด้วยตนเอง เพื่อขยายองค์ความรู้หรือแนวทางปฏิบัติทางรัฐประศาสนศาสตร์
     - สามารถคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ บนหลักการของเหตุผล
     - สามารถสืบค้นข้อมูลตึความ และประเมินเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 

ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (Interpersonal skills and responsibility)
     - มีความรับผิดชอบในการดำเนินงานของตนเอง แก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนและปรับปรุงตนเองให้มีประสิทธิภาพทั้งในการเรียน การวิจัยและการปฏิบัติงานในสาขาวิชาชีพของตน
     - มีทัศนคติที่ดีในการสร้างความร่วมมือกับผู้อื่นในการจัดการประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับรัฐประศาสนศาสตร์ หรือในสถานการณ์ เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ผ่านการทำงานกลุ่ม
     - สามารถรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและยอมรับความแตกต่าง
     - มีความคิดริเริ่มและมีทักษะความเป็น 

ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Numerical analysis, communication and information technology skills)
     - สามารถคัดกรองข้อมูลทางคณิตศาสตร์และทางสถิติ เพื่อนำมาใช้ในการศึกษาค้นคว้าปัญหา สรุปปัญหาและเสนอแนะทางการแก้ไขปัญหาในด้านต่างๆได้
     - สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพได้เหมาะสมกับกลุ่มบุคคลต่างๆ ทั้งในวงวิชาการและวงวิชาชีพ รวมทั้งชุมชนทั่วไป 
โดยการนำเสนอรายงานที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ผ่านสิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการและวิชาชีพรวมทั้งวิทยานิพนธ์หรือโครงการค้นคว้าที่สำคัญ
     - สามารถรู้เท่าทันสื่อและข้อมูลข่าวสาร

 

กลุ่มวิชาในหลักสูตร

กลุ่มวิชาในโครงสร้างหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตร
แผน  ก แบบ ก2  46 หน่วยกิต    
โครงสร้างหลักสูตร
แผน ข  46 หน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ  ไม่นับหน่วยกิต 
PBA6101  ภาษาอังกฤษทางรัฐประศาสนศาสตร์และบริหารธุรกิจ  
หมวดวิชาบังคับ  ไม่นับหน่วยกิต 
PBA6101  ภาษาอังกฤษทางรัฐประศาสนศาสตร์และบริหารธุรกิจ  
หมวดวิชาบังคับบัณฑิตศึกษา                  
RAM6001 ความรู้คู่คุณธรรมสำหรับบัณฑิตศึกษา
หมวดวิชาบังคับบัณฑิตศึกษา                  
RAM6001 ความรู้คู่คุณธรรมสำหรับบัณฑิตศึกษา
หมวดวิชาบังคับร่วม   (21 หน่วยกิต)
PBA 6111 เศรษฐศาสตร์การจัดการ
PBA 6113 องค์การและการจัดการ    
PBA 6114 การจัดการทรัพยากรมนุษย์ในยุคดิจิทัล
PBA 6116 การจัดการการเงิน
PBA 6117 การจัดการการตลาดในยุคดิจิทัล
PBA 7102 สถิตและการวิจัยทางการบริหารงานภาครัฐและเอกชน
PBA 7112 การวิเคราะห์เชิงปริมาณและการจัดการการผลิต

หมวดวิชาบังคับร่วม   (24 หน่วยกิต)
PBA 6111 เศรษฐศาสตร์การจัดการ
PBA 6113 องค์การและการจัดการ    
PBA 6114 การจัดการทรัพยากรมนุษย์ในยุคดิจิทัล
PBA 6115 การจัดการเชิงกลยุทธ์ในภาครัฐและธุรกิจ
PBA 6116 การจัดการการเงิน
PBA 6117 การจัดการการตลาดในยุคดิจิทัล
PBA 7102 สถิตและการวิจัยทางการบริหารงานภาครัฐและเอกชน
PBA 7112 การวิเคราะห์เชิงปริมาณและการจัดการการผลิต 
หมวดวิชาเอกรัฐประศาสนศาสตร์    (6 หน่วยกิต)
PBA 6121 ทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์
PBA 7123 การจัดการโครงการและการประเมินผล

หมวดวิชาเอกรัฐประศาสนศาสตร์     (9 หน่วยกิต)
PBA 6121 ทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์
PBA 6122 นโยบายสาธารณะและการวางแผน
PBA 7123 การจัดการโครงการและการประเมินผล
หมวดวิชาเอกบริหารธุรกิจ  (6 หน่วยกิต)
PBA 7132 การบัญชีบริหาร
PBA 7133 การศึกษาความเป็นไปได้

หมวดวิชาเอกบริหารธุรกิจ   (9 หน่วยกิต)
PBA 7132 การบัญชีบริหาร 
PBA 7133 การศึกษาความเป็นไปได้
PBA 7134 การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ
หมวดวิทยานิพนธ์  (12 หน่วยกิต) 
PBA 7099 วิทยานิพนธ์

หมวดวิชาการศึกษาค้นคว้าอิสระทางการจัดการ
(3 หน่วยกิต)

PBA 7096 การศึกษาค้นคว้าอิสระทางการจัดการ 
- การสอบประมวลความรู้ (0 หน่วยกิต)
PBA 7097 การสอบประมวลความรู้