การประเมินผลนักศึกษา

การประเมินผลนักศึกษา
กฎ ระเบียบ หรือหลักเกณฑ์ในการให้ระดับคะแนน (เกรด)
      การวัดผลและการประเมินผลการศึกษา 
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
    - นักศึกษาต้องมีเวลาศึกษาไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาศึกษาทั้งหมด จึงจะมีสิทธิ์ได้รับการวัดและประเมินผลปลายภาคการศึกษา
    - การวัดและการประเมินผลระหว่างการเรียนรายวิชาจะมีเป็นระยะๆ อย่างน้อยวิชาละ 1 ครั้ง และมีการประเมินผลการสอบไล่อย่างน้อย 1 ครั้ง
    - ผลการศึกษาของแต่ละรายวิชาจะมีการประเมินด้วยสัญลักษณ์ที่มีค่าระดับ จำนวน 10 ระดับ ดังนี้
สัญลักษณ์ ความหมาย แต้ม
A   ดีเลิศ (Excellent) 4.00
A- เกือบดีเยี่ยม (Almost Excellent) 3.67
B+ ดีมาก (Very Good) 3.33
B   ดี (Good) 3.00
B- ดีพอใช้ (Fairly Good) 2.67
C+ เกือบดี (Almost good) 2.33
C   พอใช้ (Fair) 2.00
C- เกือบพอใช้ (Almost fair) 1.67
อ่อน (Poor) 1.00
ตก (Fail)     0.00
ในกรณีที่ไม่สามารถประเมินผลเป็นสัญลักษณ์ที่มีระดับดังกล่าวข้างต้น ให้ใช้สัญลักษณ์ที่ไม่มีค่าระดับดังต่อไปนี้
            I Incomplete (การวัดผลยังไม่สมบูรณ์)
           S Satisfactory (พอใจ)
           U Unsatisfactory (ไม่พอใจ)
          W Withdrawn with permission (เพิกถอนโดยได้รับอนุมัติ)
- การให้ S หรือ U จะทำได้โดยได้รับอนุมัติเฉพาะรายวิชาที่ไม่นับหน่วยกิต (Non - Credit) หรือรายวิชาที่ไม่สมควรประเมินผลการศึกษาเป็นสัญลักษณ์ที่มีค่าระดับ และผลของการสอบประมวลความรู้
- การให้ W ทำได้ โดยเฉพาะรายวิชาที่นักศึกษาลงทะเบียนไว้แล้ว แต่ขอเพิกถอนรายวิชานั้น
- การให้ I ทำได้ในกรณีที่นักศึกษาทำงานในรายวิชานั้นยังไม่สมบูรณ์ หรือป่วยไม่สามารถเข้าสอบได้หรือเหตุอื่น ให้เป็นไปตามกำหนดไว้ในระเบียบของมหาวิทยาลัย
 
การทำวิทยานิพนธ์หรือการศึกษาศึกษาค้นคว้าอิสระ 
การสอบสำหรับนักศึกษาแผน ก แบบ ก2 และ แผน ข ให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ดังนี้
     - นักศึกษาที่ศึกษามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ภาคการศึกษาปกติมีหน่วยกิตสะสมไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต และมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 อาจยื่นต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อขอทำวิทยานิพนธ์หรือการศึกษาค้นคว้าอิสระ
     - กรณีแผน ข นักศึกษาที่ศึกษารายวิชาต่างๆ ครบถ้วนแล้ว ให้ยื่นต่อผู้อำนวยการโครงการเพื่อขอเสนอหัวข้อทำการศึกษาค้นคว้าอิสระหนึ่งเล่ม โดยให้บูรณาการเนื้อหาของทั้งสองสาขาวิชา คือบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์เข้าด้วยกัน
     - บัณฑิตวิทยาลัยจะแต่งตั้งอาจารย์ประจำ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หรือการศึกษาค้นคว้าอิสระจำนวนอย่างน้อย 1 คน
     - กรณีแผน ก แบบ ก2 ให้มีคณะกรรมการสอบปากเปล่าวิทยานิพนธ์จำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน ประกอบด้วย คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยหรือผู้ที่คณบดีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสถาบัน เป็นกรรมการ
     - การวัดผลการศึกษาวิทยานิพนธ์ มีค่าระดับคะแนน 4 ระดับ ดังนี้ ดีเยี่ยม (Excellent) ดี (Good) ผ่าน (Pass) ตก (Fail)
     - การวัดผลการศึกษาค้นคว้าอิสระ ประเมินโดยอาจารย์ที่ปรึกษาที่ควบคุมการเขียนการศึกษาค้นคว้าอิสระ
     - ผลงานวิทยานิพนธ์จะต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยดำเนิน การให้ผลงาน หรือส่วนหนึ่งของผลงานได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ หรือเสนอต่อที่ประชุมวิชาการที่มีรายงานการประชุม (Proceedings)

การสอบประมวลความรู้
นักศึกษาแผน ข ทุกคนต้องสอบประมวลความรู้ ด้วยข้อเขียนและ/หรือ ปากเปล่า โดยมีขั้นตอนและแนวปฏิบัติดังนี้
     - นักศึกษาได้ลงทะเบียนรายวิชาครบตามหลักสูตร และได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 จึงมีสิทธิ์สอบประมวลความรู้
     - นักศึกษาต้องสอบผ่านการสอบประมวลความรู้ข้อเขียนก่อน จึงจะมีสิทธิ์สอบประมวลความรู้ปากเปล่า
     - นักศึกษามีสิทธิสอบประมวลความรู้ข้อเขียนและ/หรือปากเปล่าแต่ละประเภทได้ไม่เกิน 2 ครั้ง หากสอบไม่ผ่านครั้งที่ 2 ถือว่าพ้นสภาพนักศึกษา
     - บัณฑิตวิทยาลัยแต่งตั้งคณะกรรมการสอบประมวลความรู้ข้อเขียนและสอบปากเปล่า ประกอบด้วย กรรมการบริหารหลักสูตรทวิปริญญาโททางรัฐประศาสนศาสตร์และบริหารธุรกิจจำนวนไม่น้อยกว่า                  3 คน เป็นกรรมการ
     - การวัดผลการสอบประมวลความรู้มีค่าระดับ 2 ระดับ คือ 
               S หมายถึง สอบผ่าน (Satisfactory)
              U หมายถึง สอบไม่ผ่าน (Unsatisfactory) 
ผู้ที่สอบไม่ผ่าน  มีสิทธิสอบประมวลความรู้ได้อีกไม่เกิน   1 ครั้ง ภายในระยะเวลาที่เหลืออยู่ ผู้ที่สอบไม่ผ่าน 2 ครั้ง ถือว่าพ้นจากสภาพนักศึกษา